วุฒิสภาเห็นชอบ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ยกระดับสิทธิเท่าเทียมสำหรับทุกเพศ

“กฎหมายสมรสเท่าเทียม” เมื่อเวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยมีผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่ประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…. หรือ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” เมื่อเวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยมีผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง

เนื้อหาหลักของกฎหมายสมรสเท่าเทียม

  1. สถานะทางกฎหมายของคู่สมรส: คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
  2. อายุการสมรส: กำหนดให้อายุการสมรสเป็น 18 ปี จากเดิม 17 ปี
  3. คำว่า “ชาย” และ “หญิง”: ถูกแทนที่ด้วย “บุคคล” และ “ผู้หมั้น”
  4. การครอบคลุมบุคคลทุกเพศ: การสมรสหรือแต่งงานครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ไม่จำกัดเฉพาะเพศชายและเพศหญิง

ขั้นตอนต่อไป สมรสเท่าเทียม

นายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตและจะมีการบังคับใช้ภายใน 120 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ความสำคัญของกฎหมายนี้

การผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย (รองจากไต้หวันและเนปาล) และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และนับเป็นประเทศที่ 38 ของโลกที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นบทสรุปการต่อสู้กว่าสิบปีที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

รู้จัก สมรสเท่าเทียม คืออะไร หลังสภาไทยผ่านร่างกฎหมาย

สมรสเท่าเทียม คือ การรับรองสิทธิให้แก่คู่รักทุกเพศที่ต้องการจดทะเบียนสมรสในทางกฎหมาย โดยไม่จำกัดเฉพาะเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น

สมรสเท่าเทียม คืออะไร

สมรสเท่าเทียม คือ การรับรองสิทธิให้แก่คู่รักทุกเพศที่ต้องการจดทะเบียนสมรสในทางกฎหมาย โดยไม่จำกัดเฉพาะเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงความหลากหลายทางเพศทั้งหมด รวมถึงเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศต่างๆ เป้าหมายหลัก คือให้บุคคลเหล่านี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายอย่างเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการจดทะเบียนสมรส, การจัดการทรัพย์สินร่วมกัน, การรับบุตรบุญธรรม, การรับมรดก, และการได้รับสิทธิประโยชน์ทางสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส สิทธิเหล่านี้จะช่วยให้คู่รักทุกคู่ได้รับการรับรองและคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมและการผ่านการพิจารณา

ล่าสุด สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในวาระที่ 2-3 ด้วยมติเอกฉันท์ ซึ่งกำหนดให้การสมรสครอบคลุมบุคคลทุกเพศและยกเลิกข้อจำกัดเรื่องเพศของคู่สมรส นอกจากนี้ยังได้ปรับอายุขั้นต่ำสำหรับการสมรสเป็น 18 ปีจากเดิมที่เป็น 17 ปี และระบุถึงสิทธิและหน้าที่ของบุพการีลำดับแรกให้เท่าเทียมกับบิดามารดา การผ่านร่างกฎหมายนี้ถือเป็นการก้าวสำคัญที่จะทำให้ไทยกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองสมรสเท่าเทียม

ขั้นตอนต่อไปหลังการผ่านสภาผู้แทนราษฎร

หลังจากที่ร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ผ่านการพิจารณา จากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา

ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญและตัดสินใจว่าร่างกฎหมายนี้จะสามารถก้าวไปสู่การเป็นกฎหมายที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการหรือไม่ หากวุฒิสภาเห็นชอบ ร่างกฎหมายจะถูกนำเสนอต่อพระมหากษัตริย์เพื่อรับพระราชทานให้เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ การผ่านขั้นตอนเหล่านี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการยืนยันความเท่าเทียมทางกฎหมายในประเทศไทย แต่ยังเป็นการส่งเสริมความก้าวหน้าและรับรองสิทธิมนุษยชนในระดับสากลด้วย