เช็กเงื่อนไข! ผู้ประกันตนรับเงินทดแทน 70% ของเงินเดือนตลอดชีพจากประกันสังคม

เงื่อนไขที่ผู้ประกันตนสามารถรับเงินทดแทน 70% ของเงินเดือนตลอดชีพ กรณี ลูกจ้างได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานจนเกิดการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ

สำนักงานประกันสังคม เผย เงื่อนไขที่ผู้ประกันตน ประกันสังคม สามารถรับเงินทดแทน 70% ของเงินเดือนตลอดชีพ กรณี ลูกจ้างได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานจนเกิดการสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพ โดยจะได้รับการดูแลจาก กองทุนเงินทดแทน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี


ผู้ประกันตนที่มีสิทธิ์รับเงินทดแทน 70% ของเงินเดือน

  • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพของร่างกายไม่เกิน 60%
  • ได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน
  • ระยะเวลารับค่าทดแทนสูงสุด 10 ปี
  • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพของร่างกายเกิน 60% หรือทุพพลภาพถาวร
  • ได้รับค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน
  • ระยะเวลารับค่าทดแทนตลอดชีวิต

หมายเหตุ: เงื่อนไขนี้ครอบคลุมเฉพาะ กรณีได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพจากการทำงานเท่านั้น


ขั้นตอนการขอรับเงินทดแทนจากประกันสังคม

นายจ้างต้องแจ้งการประสบอันตรายของลูกจ้าง

  • ยื่นแบบแจ้งการประสบอันตราย ผ่านระบบ WCF PLATFORM (กองทุนเงินทดแทน)
  • เข้าไปที่หัวข้อ E-compensate
  • ต้องแจ้งภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ทราบเหตุ

เงื่อนไขการขอรับเงินทดแทน

  • สิ้นสุดการรักษาแล้ว
  • สภาพร่างกายคงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี
  • มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าเกิดจากการทำงาน

หากเกิดอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บจากการทำงาน

  • ให้แจ้งสำนักงานประกันสังคมโดยเร็วที่สุด เพื่อดำเนินเรื่องรับสิทธิ์เงินทดแทน

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

  • สายด่วนประกันสังคม 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
  • เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม: www.sso.go.th

สรุป

  • เงินทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน จ่ายให้กับผู้ที่สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพจากการทำงาน
  • หากสูญเสียอวัยวะเกิน 60% หรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับเงินตลอดชีวิต
  • นายจ้างต้องแจ้งเหตุและยื่นเรื่องผ่านระบบ WCF PLATFORM ภายใน 15 วัน
  • ผู้ประกันตนต้องแจ้งสำนักงานประกันสังคมโดยเร็วหากเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน

ลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม 3 เดือน ช่วยวิกฤตโควิด-19

ที่ประชุม ครม. เห็นชอบ  เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนประกันสังคม การออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน

โดยลดหย่อนประกันสังคม การออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 33 เหลือฝ่ายละ 2% ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนประกันสังคมตามมาตรา 39

ส่งเงินสมทบในอัตราเดือนละ 96 บาท (จากเดือนละ 432 บาท) เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่งวดค่าจ้างเดือน ก.ย. – พ.ย. 63

หากคิดเป็นจำนวนเงินที่จะประหยัดได้ของผู้ประกันตน มาตรา 33 เฉลี่ย 1,022 บาทต่อคน และผู้ประกันตนมาตรา 39 เฉลี่ย 1,008 บาทต่อคน

 

ประกันสังคม เกษียณแล้วขอเงินคืนได้

ประกันสังคมจะจ่ายเงินเกษียณให้ลูกจ้างอย่างไรกองทุนประกันสังคม

วันนี้เรามีข่าวสารเกี่ยวกับประกันสังคมมาอัพเดต เผื่อใครหลงลืมกันไป ล่าสุดมีข่าวเกี่ยวกับประกันสังคมออกมาว่า มีการใช้มาตรา 44 ปรับคณะทำงานของประกันสังคมใหม่ และมีข้อหนึ่งที่หลายคนยังสงสัย คือ ประกันสังคมจะจ่ายเงินเกษียณให้ลูกจ้างอย่างไร

หลังจากเกษียณอายุ จะได้รับเงินคืนจากประกันสังคมเท่าไหร่?

ถ้าเงินเดือนคุณเกิน 15,000 บาท จะจ่ายเงินให้ประกันสังคมอยู่ที่ 5% ของเงินเดือนทุกเดือน สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท คุณจะจ่ายเงินให้ประสังคม 15,000 x 5% = 750 บาท ของทุกเดือน

แต่เดี๋ยวก่อน 5% ที่เก็บไปนั้น ไม่ได้ใช้เป็นเงินเพื่อการเกษียณทั้งหมด 5% เงินเพื่อเกษียณจะมีแค่ 3% เท่านั้น หรือ 450 บาท

แล้วถ้ารวมกับที่นายจ้างสมทบและรัฐบาลกันงบไว้ จะเป็น 7% หรือประมาณ 1,050 บาท

วิธีคำนวณเงินชราภาพของผู้ประกันตน ตามสิทธิประกันสังคม

1. จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้เงินบำนาญชราภาพ

คำนวณโดยใช้สูตร 20% + ((จำนวนเดือนสมทบ-180)/12*1.5%) คูณกับค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายก่อนเกษียณ

ดังนั้นค่าเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือน จะเท่ากับ 15,000 บาท

เพราะฉะนั้นเงินเกษียณเป็นบำนาญจะได้เท่ากับ เดือนละ 15,000 x (20%+((300-180)/12)*1.5% = 5,250 บาทต่อเดือน

2. จ่ายเงินสมทบไม่เกิน 180 เดือน และไม่เกิน 12 เดือน

จะได้เป็นบำเหน็จเท่าจำนวนที่ตัวเองจ่ายเท่านั้น เช่น จ่ายเงินสมทบของตัวเอง 450 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 11 เดือน ก็จะได้เงินจำนวน 450x 11 = 4,590 บาท เท่านั้น

3. จ่ายเงินสมทบไม่เกิน 180 เดือน และเกิน 12 เดือน

จะได้ เงินสมทบตัวเอง นายจ้าง และรัฐบาล + ผลประโยชน์หมายถึงกำไรจากที่ประกันสังคมเอาเงินไปลงทุน ซึ่งอาจจะอยู่ราว 3-6% โดยที่ในปี 2557 อยู่ที่ 3.66%

 

คิดไปคิดมาแล้ว เงินเกษียณ เงินบำนาญ 5,000 บาทต่อเดือน  จากประกันสังคม จะทำให้คุณอยู่ได้ไหม ในอีก 20 ปีข้างหน้า

แต่เราต้องมาเริ่มต้นเข้าใจให้ตรงกัน เกี่ยวกับ ประกันสังคม ทางระกันสังคมถือว่าเป็นเสาหลักของระบบออมเพื่อเกษียณอายุในไทย โดยจะเป็นการออมภาคบังคับ เน้นสร้างหลักประกันและความมั่นคง ให้ผู้ประกันตนทุกคนมีรายได้หลังเกษียณไม่ให้ตกสู่ความยากจน

ประกันสังคมไม่ได้เน้นที่ความมั่งคั่ง ดังนั้นถ้าคุณคิดว่าหลังเกษียณจะใช้เงินประกันสังคมในการใช้ชีวิต ต้องกลับไปลองคิดอีกทีแล้วล่ะ อย่ารอเงินเกษียณจากประกันสังคมเพียงอย่างเดียว! ให้คุณเริ่มเก็บเงินเกษียณด้วยวิธีอื่นเพิ่ม ซึ่งมีอยู่หลายทาง เช่น RMF ประกันบำนาญ หรือ ซึ้อกองทุนต่างๆ

ภาพและข้อมูล ประกันสังคม www.sanook.com/money/548379/