วุฒิสภาเห็นชอบ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ยกระดับสิทธิเท่าเทียมสำหรับทุกเพศ

“กฎหมายสมรสเท่าเทียม” เมื่อเวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยมีผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง

วันนี้ (18 มิถุนายน) ที่ประชุมวุฒิสภาสมัยวิสามัญครั้งที่ 1 มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่…) พ.ศ…. หรือ “กฎหมายสมรสเท่าเทียม” เมื่อเวลา 14:51 ที่ประชุมวุฒิสภาได้ลงมติเห็นชอบใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม โดยมีผู้ร่วมลงมติจำนวน 152 คน เห็นชอบ 130 เสียง ไม่เห็นชอบ 4 เสียง งดออกเสียง 18 เสียง

เนื้อหาหลักของกฎหมายสมรสเท่าเทียม

  1. สถานะทางกฎหมายของคู่สมรส: คู่สมรสจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน
  2. อายุการสมรส: กำหนดให้อายุการสมรสเป็น 18 ปี จากเดิม 17 ปี
  3. คำว่า “ชาย” และ “หญิง”: ถูกแทนที่ด้วย “บุคคล” และ “ผู้หมั้น”
  4. การครอบคลุมบุคคลทุกเพศ: การสมรสหรือแต่งงานครอบคลุมบุคคลทุกเพศ ไม่จำกัดเฉพาะเพศชายและเพศหญิง

ขั้นตอนต่อไป สมรสเท่าเทียม

นายกรัฐมนตรีจะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตและจะมีการบังคับใช้ภายใน 120 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ความสำคัญของกฎหมายนี้

การผ่านร่างกฎหมายในวันนี้ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชีย (รองจากไต้หวันและเนปาล) และเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม และนับเป็นประเทศที่ 38 ของโลกที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ถือเป็นบทสรุปการต่อสู้กว่าสิบปีที่น่ายินดีอย่างยิ่ง